• 087 502 4545 จวรรชนก |
  • 089 794 2595 สุริยสิทธิ์ |
  • [email protected]
  • จันทร์ - ศุกร์ 8.30 - 16.30น.
Internal Business Units (Training) -Agri-KMITL
  • Home
  • ลงทะเบียนเข้าอบรม
  • แจ้งชำระเงิน
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียน
  • รายชื่อโครงการอบรม
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้ชำระเงิน
  • เข้าสู่ระบบ (สำหรับผู้ดูแลระบบ)
Sign In

Home

      หอยหวานทองมีแนวโน้มที่จะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ “.-สำนักข่าวไทย รายงานช่วงเศรษฐกิจซบเซาจากพิษโควิด-19 การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง หรือหอยหวานญี่ปุ่น ได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะเลี้ยงง่าย ราคาดี มีตลาดรองรับ และยังไม่เพียงพอกับความต้องการ รวมทั้งเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศด้วย: https://tna.mcot.net/region-827447” ตัวอย่างกลุ่ม Facebook ของผู้สนใจ เช่น กลุ่มคนเลี้ยงหอย เชอรี่สีทองและหอยทุกชนิด มีสมาชิกกว่า 26 หมื่นคน กลุ่มรวมพลคนเลี้ยงหอย มีสมาชิกกว่า 1 แสนคน หรือกลุ่มหอยเชอรี่สีทอง มีสมาชิกกว่า 3 หมื่นคน หอยหวานทองมีคุณสมบัติที่เหมาะต่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เนื่องจากเลี้ยงง่าย อัตราการรอดตายสูง และโตเร็ว  สามารถพรรณไม้น้ำกินพืชผักที่หลากหลาย เช่น แหน ผักตบชวา ผักบุ้ง วอเตอร์เครสหรือสลัดน้ำ ใบบัวบก ต้นทูน/อ้อดิบหรือแม้กระทั่งใบกล้วย ใบหม่อน เป็นต้น รวมทั้งอาหารเม็ด ผู้บริโภคส่วนใหญ่ล้วนกล่าวถึงคุณภาพเนื้อของหอยหวานทอง ว่า เนื้อนุ่ม หวานกรอบ ไม่เหนียว ไม่มีกลิ่นคาว และมีรสชาติคล้ายหมึก สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้ม ผัด แกง ทอดหรือลวกจิ้มได้ หรือแม้กระทั้งส้มตำใส่หอยหวานทอง ทำให้หอยหวานทองเป็นที่นิยมของผู้บริโภคและมีราคาค่อนข้างสูง

      อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงหอยหวานทองในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นพ่อแม่พันธุ์หรือขายไข่เป็นหลักเป็นการประกอบอาชีพเสริม  ทำให้แนวโน้มของการผลิตหอยเนื้อสู่ตลาดมายังผู้บริโภคมีโอกาสสูง  ดังนั้น คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงหอยหวานทองในพื้นที่จำกัด โดยมีรูปแบบการเพาะเลี้ยงหอยหวานทองในพื้นที่จำกัด ที่มีการบำบัดน้ำด้วยก้อนกรวดที่มีการปลูกพืชผักที่สามารถนำมาใช้เลี้ยงหอยได้  ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกษตรกรสามารถดำเนินการเพาะเลี้ยงเองได้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่จำกัด รวมทั้งนำมาสู่การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรหรือผู้สนใจต่อไป

      ดังนั้นคณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้จัดอบรมเรื่อง “หอยหวานทอง หอยทำเงิน หอยทำกิน” เพื่อให้บุคคลทั่วไป มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงหอยหวานทอง และการดัดแปลงพื้นที่ที่มีอย่างจำกัดเพื่อเพาะเลี้ยงหอยหวานทองได้

 ขอยกเลิกการอบรม เนื่องด้วยผู้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรดังกล่าวไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ ทางผู้จัดจึงขอยกเลิกการจัดอบรมที่จะจัดขึ้น

สำหรับผู้ชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้ว ผู้จัดจะติดต่อคืนเงินต่อไป

Read more ...

       เทคนิคทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปัจจุบันนี้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นงานด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่ การขยายพันธุ์พืช การปรับปรุงพันธุ์พืช การสร้างพืชปลอดไวรัส เป็นต้น อย่างไรก็ตามการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชก็ยังไม่สามารถเข้าถึงผู้ที่สนใจในทุกระดับได้ อาจเป็นเพราะงานการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมีราคาสูง แต่อย่างไรก็ตามหากมีห้องปลอดเชื้อก็จะสามารถเรียนรู้และสามารถดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อได้เช่นกัน และจากกระแสความตื่นตัวในการปลูกไม้ประดับสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิดที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของผู้คนจำนวนมากที่อยากได้ไว้ในครอบครอง ซึ่งส่งผลให้ไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดราคาสูงขึ้นจากอดีตหลายเท่าตัว ทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรหลายรายต่างก็สนใจในการเพาะขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมากขึ้น

       ดังนั้นคณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้จัดอบรมเรื่อง “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ดอกไม้ประดับ ... ไม่ได้ยากอย่างที่คิด” เพื่อให้บุคคลทั่วไป มีความรู้พื้นฐานการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ดอกไม้ประดับ และสามารถนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปใช้ได้

     

Read more ...

        ทฤษฎีใหม่ความหมายของ "หลุมขนมครก" และ โคก หนอง นา โมเดล จากพระราชดำรัสพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม 2537 การปรับประยุกต์ทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับภูมิสังคม สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" เป็นโมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติน้อมนำพระราชดำรัส ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านได้อย่างสอดคล้องกัน

        การออกแบบพื้นที่ โคก หนอง นา มักมีความแตกต่างกันบ้าง ทั้งนี้มีปัจจัยหลักที่สำคัญของการออกแบบพื้นที่ ตามสภาพทางกายภาพ เช่น สภาพดิน นํ้า ลม แสง และสังคม คือ วัฒนธรรม ความเชื่อ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้น ซึ่งการออกแบบพื้นที่เป็นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ของความสำเร็จในบริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรเองควรมีความรู้เบื้องต้น และสามารถออกแบบพื้นที่ได้ด้วยตนเอง

        ดังนั้นคณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้จัดอบรม ”โคก หนอง นา โมเดล ออกแบบได้ด้วยตนเอง” เพื่อให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไป มีความเข้าใจการปรับประยุกต์ทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสม และสามารถออกแบบพื้นที่ "โคก หนอง นา” ได้ด้วยตนเอง

 

     

Read more ...

 

         

            ในปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตอาหารหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเวชภัณฑ์ ทั้งที่เป็นอาหารของมนุษย์และไม่ใช่อาหารของมนุษย์ อุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งมีความจำเป็นต้องขอการรับรองมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice), BRC (The British Retail Consortium), AIB (American institute of baking) เป็นต้น และรวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่พักอาศัย เช่นโรงแรม หรือรีสอร์ท เป็นต้น มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพื่อให้การดำเนินงานของอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ได้มาตรฐาน มีความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ที่รับบริการ ผู้ประกอบการจึงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะในโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของซากแมลงและสัตว์พาหะในผลิตภัณฑ์ การป้องกันเชื้อโรคลงสู่อาหาร หรือการป้องกันอันตรายที่เกิดจากแมลงและสัตว์พาหะทั้งทางตรงและทางอ้อม เทคนิคการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะ รวมถึงการจัดการสถานประกอบการอย่างเหมาะสม จึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อนำมาประกอบการเลือกวิธีการป้องกันและกำจัดที่มีประสิทธิภาพ โดยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผสมผสานเทคนิคหลายวิธีเข้าด้วยกันแบบบูรณาการ หรือที่เรียกว่าการจัดการแมลงและสัตว์ศัตรูแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management: IPM) ซึ่งเป็นกระบวนการวางแผนควบคุม ป้องกัน และกำจัดแมลงและสัตว์พาหะแบบบูรณาการ โดยผสมผสานเทคนิคการจัดการหลายวิธีเข้าด้วยกันอย่างมีหลักการ และมีพื้นฐานอยู่บนความรู้ ความเข้าใจในระบบนิเวศน์ของแมลงและสัตว์พาหะ เพื่อลดจำนวนประชากรแมลงและสัตว์พาหะลง โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด ซึ่งต้องมีการวางแผนการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ตลอดจนการติดตามและประเมินผล จึงจะส่งผลให้การป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะประสบผลสำเร็จ

     

Read more ...

ท่านสามารถชำระเงินได้ที่

บัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง

ชื่อบัญชี Faculty of Agricultural Technology, KMITL

บัญชีเลขที่ 693-0-16135-7

 

© 2018 Internal Business Unit (Training). Faculty of Agricultural, KMITL.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

คุณสุริยสิทธิ์  โทร. 089 794 2595
คุณจวรรชนก โทร. 087 502 4545
Line ID: suriyasitsom

 

Internal Business Units (Training) -Agri-KMITL
Sign In
  • Home
  • ลงทะเบียนเข้าอบรม
  • แจ้งชำระเงิน
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียน
  • รายชื่อโครงการอบรม
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้ชำระเงิน
  • เข้าสู่ระบบ (สำหรับผู้ดูแลระบบ)