ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ทุกองค์กรทุกสถาบันต้องมีการปรับตัวให้เป็นนวัตกรรมบริการมากขึ้นเพื่อให้ก้าวทันต่อการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการศึกษาสถานการณ์ในอดีตถึงปัจจุบันและการศึกษาเพื่อหาสาเหตุของปัญหา/อุปสรรค์ของงานประจำ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของกระบวนการพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมบริการที่สามารถเพิ่มศักยภาพการให้บริการที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม โดยทักษะที่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการดังกล่าวคือ “ทักษะเชิงวิเคราะห์”
การพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานภายใต้บทบาทของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา
ที่ต้องช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย เพื่อหาทางเลือก ข้อดี ข้อเสีย พร้อมแนวทางในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารหรือสายวิชาการให้เป็นไปตามระเบียบและทันสมัยนั้น เป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จและสามารถบรรลุภาระกิจของมหาวิทยาลัยได้ โดยเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและการศึกษาเพื่อหาสาเหตุของปัญหา/อุปสรรค์ของงานประจำคือ “การวิเคราะห์งานประจำ” ซึ่งเป็นกระบวนการแยกแยะองค์ประกอบต่างๆ อย่างเหมาะสม และหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนางานประจำต่อไป และยังสามารถสร้างสรรค์เป็นงานวิจัย (Routine to Research: R2R) ต่อไปได้ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ใช้ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารของในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร ให้เป็น “องค์กรสมรรถนะสูง หรือ High Performance Organization (HPO)” ต่อไป
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ศูนย์วิจัยร่วมภาครัฐและเอกชน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการเขียนงานเชิงวิเคราะห์และงานวิจัยจากงานประจำ” เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาจากงานประจำ มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาเป็นงานวิจัยได้
เอกสารประกอบ
หนังสืออนุมัติจัดโครงการ ดาวน์โหลดที่นี่
โครงการอบรม ดาวน์โหลดที่นี่
ระยะเวลาการอบรม
วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566
กำหนดการฝึกอบรม [Online ผ่าน Zoom meeting]
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.30 น. กรอบแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานเชิงวิเคราะห์และวิจัยจากงานประจำ
10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 - 12.00 น. เทคนิคการเขียนงานเชิงวิเคราะห์จากงานประจำ
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. เทคนิคการเขียนงานวิจัยจากงานประจำ
14.00 - 14.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.15 - 16.30 น. การเขียนโครงร่างงานหน้าเดียว (One-sheet Proposal)
**หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม**
ค่าลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียน 800 บาท / ท่าน
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับในวันฝึกอบรม : ใบประกาศนียบัตร